พระไตรปิฎก


พระไตรปิฎก


พระไตรปิฎก คือ คัมภีร์ที่รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ โดยในสมัยพุทธกาล
จะใช้คำว่า "พระธรรมวินัย" โดยคำว่า พระไตรปิฎก ได้เกิดขึ้นหลังการสังคายนา ครั้งที่ 2
แต่เดิมพระไตรปิฎกได้รับการถ่ายทอดโดยการท่องจำจนได้รับการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อพุทธศตวรรษที่ 5 ในรัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย กษัตริย์แห่งลังกา
สำหรับฉบับภาษาไทยได้รับการจัดพิมพ์ครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2431
การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกและคัมภีร์รองอื่นๆ

พระไตรปิฎก เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาบองพระพุทธศาสนา จึงเป็นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนที่ต้องศึกษา เรียนรู้ และนำหลักธรรมมาเป็นแนวทางดำเนินชีวิต
แต่การศึกษาพระพุทธศาสนาต้องมีการอ้างอิงหลักฐานประกอบการวินิจฉัย ซึ่งควรพิจารณาที่มาและหัวข้อธรรม โดยยึดคัมภีร์พระพุทธศาสนา ดังนี้
ลำดับความสำคัญของคัมภีร์พระพุทธศาสนา
1.     พระไตรปิฎก จัดเป็นหลักฐานชั้นที่เรียกว่า'พระบาลี'
2.     คัมภีร์อธิบายพระไตรปิฎกจัดป็นหลักฐานชั้นที่2เรียกว่า'อรรถกถาหรือ'วัณณนา'
3.     คัมภีร์อธิบายอรรถกถา จัดเป็นหลักฐานชั้นที่3เรียกว่า 'ฎีกา'
4.     คัมภีร์อธิบายฎีกา จัดเป็นหลักฐานชั้นทีี่เรียกว่า 'อนุฎีกา'

การสังคายนาและการเผยแพร่พระไตรปิฎก
1.การสังคายนา พระพุทธวจนะที่ได้ตรัสสอนมานั้นสมัยแรกสือทอดกันด้วยการท่องจำ พระอรหันต์ที่มีจำนวนมากทำให้ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ต่อมาเมื่อพระอรหันต์น้อยลง ความเข้าใจพระวินัยผิดไปจากเดิม จึงมีการสังคายนา
2.การเผยแพร่พระไตรปิฎก
- การศึกษา การศึกษาภาษาบาลีทำให้เข้าจคำสอนในภาษาบาลีได้ และยังหมายถึงการเรียนการเรียนพระปริยัติธรรมของพระภิกษุ สามเณรและคนทั่วไป
- การจารึกและจัดพิมพ์พระไตรปิฎก มีการคัดลอกพระไตรปิฎกลงวัสดุต่างๆเช่นใบลาน แผ่นศิลา เมื่อเวลาผ่านไปจากการจารึกจึงเปลี่ยนเป็นการพิมพ์
-การปฏิบัติตามคำสอนของพระไตรปิฎก พุทธศาสนิกชนมีหน้าที่นำคำสอนไปปฏิบัติตาม ซึ่งการปฎิบัติตามหลักธรรมพระไตรปิฎกจึงถือเป็นการเผยแพร่ 
- การเทศนาหรือการสอนธรรม เป็นวิธีที่ทำมาตั้งแต่ก่อนมีพระตรปิฏก ถือเป็นการเผยแพร่อย่าง
สำเร็จสูงสุด

คุณค่าและความสำคัญของพระไตรปิฎก
1.พระไตรปิฎกเป็นที่รวบรวมพระพุทธวจนะ คือคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงตลอดพระชนม์ชีพและได้มีการถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน
2.พระไตรปิฎกเป็นที่สถิตของพระศาสดาของพุทธศาสนิกชน เพราะเป็นที่เก็บรวบรวมพระธรรมวินัยอันเป็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ตรัสไว้ก่อนปรินิพพานว่าพระธรรมวินัยจะเป็นศาสดาแทนพระองค์
3.พระไตรปิฎกเป็นแหล่งข้อมูลเดิมของหลักคำสอนในพระพุทธเจ้า บรรดาคัมภีร์ที่นักปราชน์ทั้งหลายอธิบายหรือเรียบเรียงและจัดว่าเป็นของพระพุทธศาสนา เป็นเพียงการขยายความและต้องสอดคล้องกับคำสอนแม่บทในพระไตรปิฎก
4.พระไตรปิฎกเป็นหลักฐานอ้างอิงความถูกต้องทางพระพุทธศาสนา การอธิบายหรือกล่าวอ้างถึงหลักการทางพระพุทธศาสนาจะเป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับได้ด้วยดี เมื่ออ้างอิงพระไตรปิฎก เนื่องจากพระไตรปิฎกเป็นหลักฐานอ้างอิงขั้นสูงสุดในการยืนยันหลักการที่กล่าวว่าเป็นของพระพุทธศาสนา
5.พระไตรปิฎกเป็นเกณฑ์มาตรฐานตรวจสอบคำสอนในพระพุทธศาสนา คำสอนหรือคำกล่าวที่จะถือว่าเป็นคำสอนในพระพุทธศาสนาได้จะต้องสอดคล้องกับพระธรรมวินัยที่มีมาในพระไตรปิฎก
6.พระไตรปิฎกเป็นเกณฑ์มาตรฐานตรวจสอบความเชื่อและข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ความเชื่อถือ ข้อปฏิบัติ และพฤติกรรมใดๆ จะวินิจฉัยว่าถูกต้องหรือผิดพลาดหรือเป็นของพระพุทธศาสนาหรือไม่ ก็อาศัยพระธรรมวินัยที่มีมาในพระไตรปิฎกเป็นเครื่องตัดสิน6.พระไตรปิฎกเป็นเกณฑ์ตรวจสอบความเชื่อและข้อปฎิบัติพระพุทธศาสนา ความเชื่อข้อปฏิบัติ จะวินิจฉัยได้ว่าถูกต้องหรือผิดพลาดโดยอาศัยพระธรรมวินัยในพระ
ไตรปิฎกเป็นเครื่องตัดสิน
ด้านอื่นๆ
- เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับลัทธิความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม
- เป็นแหล่งการเรียนรู้ เพื่อการสืบค้นข้อมูล หรือความสัมพันธ์กับวิชาการเนื่องจากคำสอน
- เป็นแหล่งข้อมูลเดิมของศัพท์บาลีในภาษาไทย 
- เป็นคัมภีร์ชีวิต ที่รวบรวมคำสอนหลักปฏิบัติหรือหลักศีลธรรม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น