พุทธศาสนสุภาษิต

พุทธศาสนสุภาษิต




พระพุทธศาสนสุภาษิต คือ คำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีลักษณะเป็นคำพูดสั้นๆ ซึ่งแฝงด้วยคติธรรมและเป็นข้อคิด สอนใจ อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาไปในแนวทางปฏิบัติในการดำเนินชีวิต


จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ : จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้

           พระพุทธศาสนาเชื่อว่าความสุขที่แท้จริงอยู่ที่จิตใจที่ดี จึงมีคำสอนเพื่อควบคุมและฝึกจิตใจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งแก่ชีวิต ความสุขที่แท้จริงตามพระพุทธศาสนาคือความสุขจากความสงบ และจากการฝึกจิตเพื่อเอาชนะความยากของตนเอง ดังนั้นการฝึกจิตจึงการฝึกพฤติกรรมของตนเอง จิตใจที่สงบ
ไม่วุ่นวาย ไม่เดือดร้อนตามกระแสโลก




น อุจฺจาวจํ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ : บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นๆลงๆ
           บัณฑิตหมายถึง ผู้รู้ ผู้มีปัญญา และดำเนินบนพื้นฐานหลักศีลธรรม คือ ความเป็นผู้สงบกาย วาจา และใจ ความสงบจากกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลงมีหนักแน่นในธรรมความความดีเชื่อมั่นในตนเอง ใช้หลักธรรมในการแก้ปัญหาเรื่องต่างๆ ไม่หวั่นไหวเอนเอียงตามกระแส ทั้งหมดเกิดจากการพัฒนาตนและจิตใจ



นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต : คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก
           พระพุทธศาสนาสอนว่าการนินทาเป็นสิ่งที่เกิดมากับกับโลก เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องประสบเหมือนๆกัน เราไม่สามารถห้ามคนอื่นไม่ให้นินทาเราได้ สิ่งที่ควรทำคือปลงใจ>อธิบายความจริง>นิ่งยอมรับ>ปรับปรุงตนเอง



โกธํ ฆตฺวา สขํ เสติ : ฆ่าความโกรธได้ย่อมเป็นสุข
           ความโกรธเป็นธรรมชาติทางอารมณ์ของมนุษย์ เกิดจากความขัดใจ ไม่พอใจ เป็นหนึ่งในสามรากเหง้าความชั่วร้ายทั้งหลายที่เรียกว่า 'อกุศลมูล' คือความโกรธ ความโลภ ความหลง พระพุทธศาสนาจะสอนให้กำจัดความโกรธออกจากจิตใจ โดยอาศัยหลักวามเมตตาและความกรุณา เป็นเครื่องอบรมจิตใจ


ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฐาตา วินฺทเต ธนํ : คนขยันเอาการเอางานกระทำเหมาะสมย่อมหาทรัพย์ได้
           การดำรงชีวิตนั้น มีทรัพย์เป็นปัจจัยหลัก ในการหาทรัพย์เลี้ยงชีพนั้นย่อมสัมพันธ์กับอาชีพ ในทางพระพุทธศาสนาการทำอาชีพที่สุจริตด้วยความขยันและเหมาะกับความสามารถของตนย่อมได้รับความสำเร็จ


วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา : เกิดเป็นคนควรพยายามจนประสบความสำเร็จ
           มนุษย์ทุกคนมีเป้าหมายในการประสบความสำเร็จ ซึ่งต้องมีความพยายามในการทำ ซึ่งจะต้องผ่านอุปสรรคปัญหาต่างๆ คนที่ประสบความสำเร็จนั้นล้วนผ่านการเพียรพยายามอย่างหนัก ไม่ท้อถอย ต้องมีความตั้งใจแน่วแน่จึงจะประสบความสำเร็จ


สนฺตุฏฐี ปรมํ ธนํ : ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
           สันโดษหมายถึง ความรู้จักพอ คือพอใจ พอดี หรือพอใจในความเป็นอยู่ของตนเอง ตามสภาพเหมาะสม พระพุทธศาสนาอธิบายว่าทรัพย์แปลได้2ความหมาย ทรัพย์ภายใน คือ ปัญญา ความรู้ ความสามารถ และ ทรัพย์ภายนอกคือวัตถุ สิ่งของต่างๆ ความสันโดเป็นทรัพย์เพราะรู้จักพอ


อิณาทาน ทุกฺํ โลเก : การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก
           การเป็นหนี้เป็นสาเหตุของความทุกข์ประการหนึ่ง การดำเนินชีวิตด้วยความพอดี ความพอเพียงและความสันโดษนั้น ทำให้หลุดพ้นจากความจนและปราศจากหนี้


ราชา มุขํ มนุสฺสานํ : พระราชาเป็นประมุขของประชาชน
           ในหมู่ประชาชนที่อาศัยอยู่รวมกันนั้น ย่อมมีผู้นำคอยคุ้มครอง บำบัดทุกข์ บำรุงทุกข์ซึ่งเรียกว่า ราชา หรือ พระราชา พระราชาถือเป็นบุคคลสำคัญแห่งความสุขและความทุกข์อันจะเกิดแก่ราษฎร 



สติ โลกสฺมิ ซาคโร : สติเป็นเครื่องตื่นในโลก
           สติ คือ ความระลึกได้ ได้แก่ความระลึกได้ก่อนทำและพูด ทำให้ไม่หลงลืม ไม่พลาดโอกาส 
สติมักมาพร้อมสัมปัมปชัญญะ คือความรู้ตัว รู้ว่าสถานภาพเป็นอย่างไร หลักคำสอนสติจึงเป็นการสอนให้คนไม่ประมาท




นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ : สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี
           ความสุขคือสิ่งที่ทุกคนต้องการ แต่ไม่มีความสุขใดยั่งยืนตราบเท่ายังปนด้วยกิเลส พระพุทธเจ้าจึงสอนวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความสุขที่แท้จริงนั่นคือ ความสงบ
ความสงบซึ่งตรงข้ามกับความสับสนวุ่นวาย ในพื้นฐานคือสงบกายวาจาซึ่งเป็นความสงบภายนอก สงบใจเป็นความสงบภายใน โดยเป้าหมายสูงสุดคือความสงบจากกิเลส



นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ : นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
           การปฏิบัติตามพระพุทธศาสนาย่อมมีการนิพพาน หรือความหลุดพ้น เป้าหมาย ตามทัศนะของพระพุทธศาสนาอธิบายว่า นิพพานเป็นความสุขที่แท้จริง เพราะปราศจากกิเลสเหตุที่มนุษย์เดือดร้อนเพราะมีความอยาก กิเลสซึ่งเป็นภาวะที่ไม่มีในนิพพาน ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงสอนว่านิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น